คำชี้แจง: ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ “กฎหมาย”
หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด
หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
ลักษณะของกฎหมาย หมายความว่า กฎหมายนั้นต้องอยู่ในรูปของคำสั่ง คำบัญชา
อันเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะเป็นการบังคับ
เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์
กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ดังนี้กฎหมายจึงกำหนดความรับผิดทำหน้าที่ดูแลประชาชน
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน
จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เห็นด้วาย เพราะ มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาครู
ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น
ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เพราะเป็น
ข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชชีพทางการศึกษา
ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม
เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นในอาชีพของความเป็นครู
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถ
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
และพัฒนาสาระกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในหมวด 8 มาตรา 58 ได้กำหนด
ไว้ว่าให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงิน และทรัพย์สิน
ทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น
และต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษาโดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
บริจาคทรัพย์สิน
หรือทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษาและมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ มี
3
รูปแบบ 1 การศึกษาในระบบ 2. การศึกษานอกระบบ 3. การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วย
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระบบอุดมศึกษา
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาที่จำเป็น ที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นและฐานที่แข็งแรงมั่นคง
เพียงพอ กับการ (1)
ดำรงชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า
(2) อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี
มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
(3)
สามารถประกอบการงานอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ และ
(4) สามารถพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้า
ตลอดจนมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ
และมีสิ่งใดบ้างที่จะสร้างพื้นฐานให้ครบถ้วนทั้งสี่ด้านนี้ได้ คือ เป้าหมายที่ต้องการให้คนได้รับและเกิดขึ้นก็คือ
การวางพื้นฐานชีวิตด้วยการศึกษาภายในเวลาสิบสองปีนั่นเอง ส่วน การศึกษาภาคบังคับหมายความว่า
การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง
ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว
อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ 1. ให้สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
มีภารกิจเกี่ยวกับราชการทางการเมือง เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรี
ประสานนโยบายระหว่างกระทรวง (1)
รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ( 2)สนับสนุนการทำงานของรัฐมนตรีในการดำเนินงานทางการเมืองระหว่างรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี รัฐสภาและประชาชน (3)ดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
2. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานรัฐมนตรี
กระทรวงศึกษาธิการ
(1) งานบริหารทั่วไป
(2) กลุ่มงานประสานการเมือง
(3) กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ
3. ส่วนราชการของสำนักงานรัฐมนตรี
กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่
(1) งานบริหารทั่วไป (2) กลุ่มงานประสานการเมือ
(3) กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ
7. จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจาก มาตรา 11 แห่ง พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.
2546 บัญญัติว่า
การแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้ออกเป็นกฎกระทรวง
และให้ระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย
เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว สมควรแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี
กระทรวงศึกษาธิการ
และระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพของงาน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ หัวหน้าส่วนราชการ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า
ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว
หรือไปสอนเป็นประจำ
หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใดตอบ ผิด เพราะบุคคลนี้ซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ
ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน
อะไรบ้าง
ตอบ วินัย คือ กฏหมาย กฏข้อบังคับ ระเบียบ
และแบบธรรมเนียมที่กำหนดให้ปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติ ข้าราชการต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือว่า ผู้นั้นกระทำผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ(มาตรา
65) ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ส่งเสริมและดูแลระมัดระวังให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
ปฏิบัติตามวินัย ถ้ารู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาคนใดกระทำผิดวินับ
จะต้องดำเนินการทางวินัยทันที ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลย
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ผู้นั้นกระทำผิดวินัย(มาตรา 82)โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ 1. ภาคทัณฑ์ 2. ตัดเงินเดือน 3. ลดขั้นเงินเดือน 4. ปลดออก 5. ไล่ออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า
เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า
เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ
พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ เด็ก หมายความว่า
บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
เด็กเร่ร่อน คือ เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้
จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ เด็กกำพร้า คือ
เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้ เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก คือ
เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง
หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก
หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา
หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แล เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด คือ
เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร
เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น